วันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2557

อัลเลาะฮฺอยู่ไหน

อัลเลาะฮฺอยู่ไหน

อามีน ลอนา : เรียบเรียง

عَنْ مُعَاوِيَةَ بْنِ الْحَكَمِ السُّلَمِيِّ، قَالَ: قُلْتُ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، جَارِيَةٌ لِي صَكَكْتُهَا صَكَّةً، فَعَظَّمَ ذَلِكَ عَلَيَّ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقُلْتُ: أَفَلَا أُعْتِقُهَا؟ قَالَ: «ائْتِنِي بِهَا» ، قَالَ: فَجِئْتُ بِهَا، قَالَ: «أَيْنَ اللَّهُ؟» قَالَتْ: فِي السَّمَاءِ، قَالَ: «مَنْ أَنَا؟» قَالَتْ: أَنْتَ رَسُولُ اللَّهِ، قَالَ: «أَعْتِقْهَا فَإِنَّهَا مُؤْمِنَةٌ»                                                                     
“มุอาวียะฮฺบินฮะกัม อัซซุละมีย์   กล่าวว่า-ข้าฯได้กล่าวว่า โอ้ ท่านเราะซูล          ลุลเลาะฮฺ   ฉันได้ตบหน้าทาสหญิงของฉันอย่างทารุณ(ด้วยความโกรธ) ดังนั้นท่านเราะซูลลุลเลาะฮฺ   จึงได้ตำหนิฉันอย่างมากมาย ฉันจึงได้ถามท่านว่า ฉันจะต้องปล่อยนางให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสไหม? ท่านนบี    จึงตอบว่า ไปนำตัวนางมา จากนั้นฉันจึงไปนำตัวนางมา และท่านนบี  ก็ถามนางว่า พระองค์อัลเลาะฮฺอยู่ไหน? นางตอบว่า ทรงดำรงอยู่เหนือชั้นฟ้า ท่านนบี    จึงถามต่อว่าแล้วฉันเป็นใคร? นางทาสก็ตอบว่าท่านคือเราะซูลของพระองค์อัลเลาะฮฺ ท่านนบีจึงกล่าวว่า ปล่อยนางให้เป็นเสรีชนเสีย เพราะนางคือหญิงผู้ศรัทธา” (สุนันอบูดาวุด, หะดีษเศาะฮีฮฺ  ดู มุฮัมมัด นาศิรุดดีน อัลอัลบานีย์. เศาะฮีฮฺสุนันอบูดาวุด. เบรูต : มักตับอัตตัรบียะฮฺอัลอะเราะบีย์ลิดเดาลิลเคาะลีจฺ, 1409. หมายเลข : 3282)

อธิบาย

หะดีษบทนี้เป็นหะดีษที่มีความสำคัญมากสำหรับชาวสะละฟีย์ทั้งหลาย เพราะเป็นหะดีษที่    ชาวสะลัฟต่างใช้เพื่อทดสอบศรัทธาคน จึงไม่อนุญาตที่ใครจะทำการปฏิเสธหะดีษบทนี้หรือทำนิ่งเฉยไม่สนใจความสำคัญของหะดีษบทนี้ในการสอนประชาชนให้ยอมรับเนื้อหาของหะดีษตลอดจนยังไม่เป็นที่อนุญาตในการที่ใครบางคนจะกล่าวตีความว่าหะดีษบทนี้หมายถึงการที่พระองค์อัลเลาะฮฺทรงสูงส่งหรืออะไรที่เข้าข่ายความหมายนามธรรม ท่านอิมามอัสสะฮะบีย์ ได้รายงานมาว่า
وسمعت القاضي الإمام تَاجُ الدِّينِ عَبْدُ الْخَالِقِ بْنُ علوان قال: سمعت الإمام أبا محمد عبد الله بن أحمد المقدسي مؤلف "المقنع" رحم الله ثراه، وجعل الجنة مثواه، يقول: بلغني عن أبي حنيفة رحمه الله أنه قال: مَنْ أَنْكَرَ أَنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ فِي السَّمَاءِ ، فَقَدْ كَفَرَ                                                                                                               
 “ข้าพเจ้าได้ยินท่านอัลกอฎี อัตตาญุดดีนอับดุลคอลิกบินอุลวาน กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ยิน  อิมามอับดุลเลาะฮฺบินอะฮฺมัดอัลมักดิซีย์เจ้าของหนังสือ อัลมุฆนิอฺ (ขออัลเลาะฮฺเมตตาท่าน) กล่าวว่า ได้มีการบอกเล่าแก่ข้าพเจ้าจากท่านอบูฮะนีฟะฮฺ (ขออัลเลาะฮฺทรงเมตตาท่าน) กล่าวว่า ผู้ใดปฏิเสธว่าอัลเลาะฮฺทรงอยู่เหนือชั้นฟ้า เขาผู้นั้นก็ปฏิเสธศรัทธาไปแล้ว” (ชัมซุดดีน อบูอับดุลเลาะฮฺ มุฮัมมัดบินอะฮฺมัด บินอุษมาน อัสสะฮะบีย์. มุคตะศ๊อรอัลอุลูว์ลิลอะลียิลอะศีมลิสสะฮะบีย์. มุฮัมมัดนาศิรุดดีน อัลอัลบานีย์, ผู้ตรวจทาน. ม.ป.ท. : มักตะบะฮฺอัลอิสลามีย์, 1412. เล่ม 1 หน้า 137)
ท่านอิมามอบูมันศูร อัลมะตุรีดีย์ ได้รายงานคำพูดของอิมามอบูฮะนีฟะฮฺว่า
“ผู้ใดกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าอัลเลาะฮฺอยู่เหนือชั้นฟ้าหรืออยู่ในโลกกันแน่ เขาผู้นั้นคือผู้ปฏิเสธ” ( อบูมันศูรมุฮัมมัดบินมุฮัมมัดบินมะฮฺมูดอัลฮะนะฟีย์ อัซซะมัรก็อนดีย์. ชัรฮฺฟิกฮุลอักบัร. อับดุลเลาะฮฺบินอิบรอฮีม อัลอันศอรีย์, ผู้ตรวจทาน. ม.ป.ท. : ม.ป.พ., ม.ป.ป. ,หน้า 25
นี่คือความเข้าใจของอิมามอบูฮะนีฟะฮฺ นักปราชญ์ชื่อดังจากยุคสะลัฟผู้ทรงธรรมขณะเดียวกันท่านอิมามชาฟิอีย์ นักปราชญ์ยุคสะลัฟอีกท่านหนึ่งกล่าวว่า
وهكذا سَنَّ رسولُ الله في كل من امتحنه للإيمان أخبرنا مالك عن هلال بن أسامة عن عطاء بن يسار عن عُمَر بن الحَكَم قال: ( أتَيْتُ رسولَ اللهِ بِجَارِيَةٍ، فَقُلْتُ: ياَ رَسُولَ اللهِ، عَلَيَّ رَقَبَةٌ، أَفَأَعْتِقُهَا؟ فَقَالَ لَهَا رَسُولُ اللهِ: أَيْنَ اللهُ؟ فَقَالَتْ: فِي  السَّمَاءِ. فَقَالَ: وَمَنْ أَنَا؟ قَالَتْ: أَنْتَ رَسُولُ اللهِ. قَالَ: فَأَعْتِقْهَا) 
“นี่คือวิธีการที่ท่านเราะซูลลุลเลาะฮฺได้ตั้งเป็นมาตรฐานไว้เพื่อทดสอบศรัทธาของคน(จากนั้นท่านอิมามชาฟิอีย์ก็ทำการนำเสนอหะดีษบทนี้ไว้-ผู้แปล)” (มุฮัมมัดบินอิดรีส อัชชาฟิอีย์. อัรริซาละฮฺ. อะฮฺมัดมุฮัมมัด ชากิร, ผู้ตรวจทาน. เบรูต : ดารุลกุตตุบอัลอิลมียะฮฺ, ม.ป.ป.,เล่ม 1 หน้า 75)
นี่เป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าในความเข้าใจของชาวสะลัฟนั้นนอกจากหะดีษบทนี้จะเศาะฮีฮฺแล้วมันยังเป็นหะดีษที่ใช้ทดสอบศรัทธาของผู้คนอีกด้วย
พระคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า
وَقَالَ فِرْعَوْنُ يَا أَيُّهَا الْمَلَأُ مَا عَلِمْتُ لَكُمْ مِنْ إِلَهٍ غَيْرِي، فَأَوْقِدْ لِي يَا هَامَانُ عَلَى الطِّينِ، فَاجْعَلْ لِي صَرْحًا لَعَلِّي أَطَّلِعُ إِلَى إِلَهِ مُوسَى وَإِنِّي لَأَظُنُّهُ مِنَ الْكَاذِبِينَ                                            
“และฟาโรห์กล่าวว่า โอ้ปวงข้าราชบริพาร! ฉันไม่เคยรู้จักพระเจ้าอื่นใดของพวกท่านนอกจากฉัน โอ้ฮามานเอ๋ย ! จงเผาดินให้ฉันด้วยแล้วสร้างโครงสูงระฟ้า เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซา และแท้จริงฉันคิดว่า เขานั้นอยู่ในหมู่ผู้กล่าวเท็จ (อัลกุรอาน 28:38)
ท่านอิบนุญะรี้ร อัฏเฏาะบะรีย์ นักปราชญ์ชาวสะลัฟซึ่งมีความเจนจัดในเรื่องของการอธิบาย     อัลกุรอานได้กล่าวว่า
وَقَوْلُهُ: {وَإِنِّي لَأَظُنُّهُ كَاذِبًا} [غافر: 37] يَقُولُ: وَإِنِّي لَأَظُنُّ مُوسَى كَاذِبًا فِيمَا يَقُولُ وَيَدَّعِي مِنْ أَنَّ لَهُ فِي السَّمَاءِ رَبًّا أَرْسَلَهُ إِلَيْنَا                                                                                  
คำดำรัสของพระองค์อัลเลาะฮฺในอัลกุรอาน(ที่ได้ทรงเล่าเหตุการณ์บทสนทนาของฟาโรห์แห่งอียิปต์)ความว่าและแท้จริงข้า(ฟาโรห์)คิดอย่างแน่ใจแล้วว่าเขา(นบีมูซา)เป็นคนโกหก (40:37) คือฟาโรห์กล่าวว่า แท้จริงข้าแน่ใจแล้วว่ามูซาโกหกในสิ่งที่เขาได้อ้างว่า แท้จริงเขามีพระเจ้า       อยู่เหนือฟากฟ้าซึ่งพระองค์เป็นผู้ส่งเขามายังเรา (มุฮัมมัดบิน ญะรี๊ร อัฏเฏาะบะรีย์. ญามิอุลบะยานอั้นตะอ์วีลอัยยัลกุรอาน. อับดุลมุฮฺซิน อัตตุรกีย์, ผู้ตรวจทาน. ม.ป.ท. : ดารุลฮิจรฺ, 1422., เล่ม 20 หน้า 327)
وَقَوْلُهُ: {لَعَلِّي أَطَّلِعُ إِلَى إِلَهِ مُوسَى} [القصص: 38] يَقُولُ: انْظُرُ إِلَى مَعْبُودِ مُوسَى، الَّذِي يَعْبُدُهُ، وَيَدْعُو إِلَى عِبَادَتِهِ {وَإِنِّي لَأَظُنُّهُ} [القصص: 38] فِيمَا يَقُولُ مِنْ أَنَّ لَهُ مَعْبُودًا يَعْبُدُهُ فِي السَّمَاءِ، وَأَنَّهُ هُوَ الَّذِي يُؤَيِّدُهُ وَيَنْصُرُهُ، وَهُوَ الَّذِي أَرْسَلَهُ إِلَيْنَا {مِنَ  الْكَاذِبِينَ}                                                                                                                  
“พระดำรัสของอัลเลาะฮฺวรรคที่ว่า-เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซา- คือ ฟาโรห์พูดว่า      จงไปดูพระเจ้าผู้ถูกกราบไหว้ของมูซากัน ซึ่งเป็นพระเจ้าที่มูซากราบไหว้และยังเชิญชวนพวกเราให้กราบไหว้พระเจ้าของเขา (เพียงผู้เดียว) และวรรคที่ว่า-และแท้จริงแล้วฉันมั่นใจ(ว่ามูซาโกหก)- ในสิ่งที่มูซากล่าวอ้างว่าเขามีพระเจ้าที่เขากราบไหว้ผู้ทรงดำรงอยู่เหนือฟากฟ้า และพระเจ้าองค์นั้นทรงสนับสนุนเขาและทรงช่วยเหลือและทรงเป็นผู้ส่งมูซามายังพวกเรา-(คำสอนของมูซาทั้งหมดนี้ทำให้ฉันมั่นใจว่า)มูซาเป็นหนึ่งในบรรดาจอมโกหก(ที่สอนเรื่องโกหกเหล่านี้)” (แหล่งเดียวกัน., เล่ม 18 หน้า 255-256)
คำอธิบายของสะลัฟท่านนี้สะท้อนให้เห็นว่าบรรดานบีในยุคอดีตต่างก็สอนให้มวลมนุษยชาติทำการสักการะพระองค์อัลเลาะฮฺเพียงผู้เดียวและยอมรับถึงการดำรงอยู่เบื้องบนของพระองค์อัลเลาะฮฺ ควบคู่กันด้วย! อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราพบเห็นก็คือพวกอะชาอิเราะฮฺซากเดนบางคนเกิดอาการรวนกับคำอธิบายของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ จึงได้มีการแก้เกี้ยวแบบพิลึกพิลั่นน่าอดสูนัก พิจารณาจากตัวบทเราสามารถเข้าใจได้ว่าฟาโรห์ตั้งข้อหาแก่ท่านนบีมูซา   ว่า “จอมโกหก” อันเป็นจุดบ่งชี้ว่าฟาโรห์ไม่เชื่อในคำสอนทุกอย่างของนบีมูซา นี่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของศัตรูของอัลเลาะฮฺ  และหนึ่งในคำสอนของนบีมูซาที่ฟาโรห์ไม่ยอมรับก็คือ “การอยู่เบื้องบน” ของพระองค์อัลเลาะฮฺ นี่คืออะกีดะฮฺของฟาโรห์เจ้าลัทธิปฏิเสธการอยู่เบื้องบนของพระเจ้า มิใช่หมายความว่าฟาโรห์เชื่อว่าอัลเลาะฮฺอยู่เหนือชั้นฟ้าดังการมั่วนิ่มของพวกอะชาอิเราะฮฺ โปรดสังเกตว่าท่านอัฏเฏาะบะรีย์อธิบายคำพูดของฟาโรห์โดยไม่มีการตั้งข้อสงสัยแผลงๆใดๆเลย เพราะลักษณะของผู้ปฏิเสธก็คือพวกเขาจะตำหนิคำสอนของบรรดานบีว่าเป็นเรื่องโกหก ด้วยเหตุนี้เราจึงพบว่าทุกอย่างที่พวกอาหรับโง่เขลาได้วิจารณ์ว่ามันเป็นคำสอนที่เหลวไหล ทว่าทั้งหมดกลับเป็นคำสอนจากท่านนบีมุฮัมมัด     ทั้งสิ้น เพราะสิ่งที่เป็นเรื่องเหลวไหลสำหรับผู้ปฏิเสธย่อมมีเพียงประเด็นเดียวก็คือเรื่องสัจธรรมจากพระผู้เป็นเจ้า การจะมาอ้างเท็จว่าฟาโรห์เข้าใจคำสอนของนบีมูซา ผิดก็รังแต่จะเป็นการตำหนิเราะซูลของ         อัลเลาะฮฺว่าทำการสอนคลุมเครือจนประชาชาติที่ท่านถูกส่งไปไม่เข้าใจหรือสับสน นี่เป็นมุมมองที่น่าขันเพราะบรรดาผู้ปฏิเสธไม่เคยมึนงงต่อการเรียกร้องของเหล่าศาสนทูตหากแต่พวกเขา “เข้าใจ” แจ่มแจ้งแต่ปฏิเสธด้วยความดื้อรั้น หากอ้างว่าฟาโรห์ยังเข้าใจคำสอนของท่านนบีมูซาผิดแล้วจะอ้างสิทธิอะไรไปลงโทษฟาโรห์ในเมื่อตัวของเขาเองยังไม่เข้าใจสาสน์แห่งการเรียกร้องของนบีมูซาเลย! ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่านี่คือคำอธิบายที่เหลวไหลโง่งมที่สุด แล้วจะอ้างต่ออีกหรือไม่ว่าที่ฟาโรห์ไม่ยอมรับคำสอนของมูซาที่เรียกร้องต่อตัวเขาว่าพระเจ้าที่แท้จริง “มีองค์เดียว” ก็เป็นความเข้าใจผิดของฟาโรห์ด้วย! เพราะคำกล่าวของฟาโรห์ที่ระบุว่า “มูซาโกหก” หมายถึง โกหกที่อุตริสอนว่ามีพระเจ้าหนึ่งเดียวและทรงอยู่เบื้องบน! นี่คือคำอธิบายของอัฏเฏาะบะรีย์ต่ออัลกุรอานไม่ใช่ความเข้าใจเดาสุ่มของวะฮาบีย์ จึงไม่ควรพายเรือในอ่างแก้เกี้ยวอย่างเหลือกลานว่าอัลกุรอานไม่ได้ระบุว่านบีมูซาสอนให้เชื่อว่าพระเจ้าอยู่เบื้องบน ก็ในเมื่อชาวสะลัฟได้อธิบายไปแล้วว่าสำนวนนี้ (นบีมูซาโกหก) หมายถึงโกหกเรื่องการมีพระเจ้าองค์เดียวที่ถูกกราบไหว้และการอยู่เบื้องบนของพระองค์ อันเป็นปากคำของฟาโรห์ที่ “ปฏิเสธ” คำสอนของมูซาที่ได้สอนเขาเช่นนี้ แล้วจะมาถือวิสาสะอ้างว่าฟาโรห์เข้าใจผิดเฉพาะเรื่อง “การอยู่เบื้องบน” ได้อย่างไร ? มันน่าขันนัก! แล้วการที่ฟาโรห์สร้างหอสูงเสียดฟ้าเพื่อขึ้นไปพิสูจน์พระเจ้าของมูซาที่อยู่เบื้องบนนั้น เขาก็ไม่ได้สร้างขึ้นเพราะเชื่อตามนั้นในตอนแรกแต่กลับมาปฏิเสธภายหลังเพราะขึ้นไปไม่พบใครดังการอ้างมั่วนิ่มของอะชาอิเราะฮฺไม่! หากแต่ฟาโรห์ปฏิเสธการอยู่เบื้องบนของพระองค์อัลเลาะฮฺ   ตั้งแต่ตอนริเริ่มที่จะสร้างหอรบแล้ว ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “และ          ฟาโรห์กล่าวว่า โอ้ปวงบริพารเอ๋ย! ฉันไม่เคยรู้จักพระเจ้าอื่นใดของพวกท่านนอกจากฉันเอง (ที่เป็นพระเจ้า) โอ้ฮามาน(สมุนของฟาโรห์)เอ๋ย ! จงเผาดินให้ฉันด้วยแล้วสร้างโครงสูงระฟ้า เพื่อที่ฉันจะได้ขึ้นไปดูพระเจ้าของมูซา และแท้จริงข้ามั่นใจว่าเขานั้นอยู่ในหมู่ผู้พูดโกหก(ที่อ้างว่า   พระเจ้าอยู่เบื้องบน) (อัลกุรอาน 40:37) ฉะนั้นการที่ฟาโรห์สร้างอาคารสูงขึ้นเสียดฟ้าไม่ได้แปลว่าเขาสร้างอาคารดังกล่าวในสภาพที่เชื่อว่าอัลเลาะฮฺอยู่ข้างบนจริงๆ ในทางกลับกันเขาปฏิเสธและสร้างขึ้นเพื่อจะหาเหตุมาเย้ยหยันความเชื่อของตนเองว่านบีมูซาเทศนาแต่เรื่องโกหกพกลม หากอธิบายมั่วนิ่มว่าฟาโรห์เชื่อว่าอัลเลาะฮฺอยู่บนฟ้าในขณะที่สร้างหอสูงก็แสดงว่า ณ ขณะนั้นฟาโรห์ก็ต้องเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้าแล้วสิ! ฟาโรห์เชื่อในเตาฮีด(ความเป็นหนึ่งของพระเจ้า)แล้วสิ!? ฟาโรห์เชื่อว่าพระเจ้าของนบีมูซา    มีอยู่จริงแล้วสิ!? แล้วจะอธิบายอย่างไรกับคำพูดของฟาโรห์ที่อวดอ้างว่าตนเองเท่านั้นที่คือพระเจ้าและไม่มีพระเจ้าอื่นนอกจากตนเอง!? ฟาโรห์จึงไม่ได้ “พึ่งจะ” มาปฏิเสธพระเจ้าหลังจากไม่พบอะไรในท้องฟ้า หากแต่มันปฏิเสธพระเจ้าตั้งแต่แรกแล้ว! อะชาอิเราะฮฺบางคนอาจจะตั้งตรรกะไร้เดียงสาว่า หากเราเชื่อตามความเข้าใจของฟาโรห์ที่ได้ยินมาจากท่านนบีมูซา ก็แสดงว่าท่านนบีมูซานั้นบอกฟาโรห์ว่าอัลเลาะฮฺอยู่บนฟ้าชั้นไม่ไกลจนสามารถขึ้นไปหาอัลเลาะฮฺได้นะสิ” เราขอตอบว่านี่เป็นการทึกทักมั่วนิ่มซ้ำซาก หากจะทึกทักเช่นนี้ อะชาอิเราะฮฺจะทึกทักด้วยไหมล่ะว่าการที่ฟาโรห์คิดจะต่อกรกับพระเจ้าของมูซา แสดงว่าพระเจ้าที่นบีมูซาสอนให้ฟาโรห์รู้จักคงไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือน่าเกรงขามมากพอ เลยทำให้ฟาโรห์คิดว่าตนเองพอจะต่อกรได้กระมัง!? นี่แหละกฎเกณฑ์สั่วๆที่เกิดขึ้นจากการรับเอาอะกีดะฮฺของอริสโตเติลแห่งมาซิโดเนียมาเป็นรากเหง้าทางด้านศรัทธาของตนเอง สมมุติฐานข้างต้นเป็นเพียงแค่คำอ้างโยงมั่วเอาเองเท่านั้นว่าหากฟาโรห์สร้างหอสูงก็แสดงว่านบีมูซาสอนว่าพระเจ้าอยู่เบื้องบนแบบไม่ไกลมากนักที่จะไปหา! ทั้งที่เราสามารถทึกทักแบบอื่นได้อีกมากมายจิปาถะ เช่น ฟาโรห์สร้างหอสูงทั้งที่เข้าใจว่าการอยู่เบื้องบนของพระเจ้านั้นสุดจะจินตนาการและไม่สามารถเข้าถึงได้แต่ด้วยความดื้อรั้นที่จะเอาชนะจึงคิดว่าตนเองสามารถฝ่าฟันเรื่องเหนือธรรมชาติไปได้ หรืออาจจะทึกทักว่าเพราะฟาโรห์เชื่อว่าตนเองเป็นพระเจ้าอยู่ด้วยจึงไม่เกินความสามารถที่จะขึ้นไปหาพระเจ้าผู้อยู่ยังเบื้องบนแม้จะสุดคาดคิดก็ตาม! หรือฟาโรห์อาจจะคิดว่าในเมื่อพระเจ้าของมูซาไม่มีอยู่จริงหรอก เราก็เพียงแค่ขึ้นไปพอเป็นพิธีเพื่อหาเหตุเป็นข้ออ้างว่าไม่เห็นมีเลยพระเจ้าของพวกท่าน หรือฟาโรห์ก็อาจจะคิดว่าวิธีการเช่นนี้จะเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือต่อคำสอนของนบีมูซาว่าไม่กินกับปัญญา เรียกว่าเป็นการยัดเยียดข้อหาอย่างจงใจในสิ่งที่ท่าน  นบีมูซาไม่ได้สอน เสมือนกับพฤติกรรมของพวกนอกคอกญะฮฺมียะฮฺกุฟฟ้ารในยุคร่วมสมัยทั้งที่เราป่าวประกาศไปแล้วว่าพระองค์อัลเลาะฮฺ   ทรงอยู่เบื้องบนแบบไม่พึ่งพาสิ่งถูกสร้างและไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนกับสภาวะที่แท้จริงของการอยู่เบื้องบนของพระองค์ พวกแกล้งโง่บางจำพวกก็ยังคงใส่ร้ายหัวชนฝาว่า “พวกนี้หาที่อยู่” “หาสถานที่พำนัก” ให้พระองค์อัลเลาะฮฺ หรือพระองค์อัลเลาะฮฺอยู่บนก้อนเมฆบ้างล่ะ ทั้งที่พวกเราไม่เคยสอนเช่นนี้ ฟาโรห์เองก็มีพฤติกรรมเดียวกัน แม้ว่านบีมูซาจะสอนเรื่องการอยู่เบื้องบนอย่างถูกต้องและบริสุทธิ์เพียงใด ฟาโรห์ก็ยังคงแกล้งโง่หาเรื่องต่อไปโดยคิดว่าพระเจ้าของมูซาคงอยู่ในก้อนเมฆกระมังเสมือนดังพฤติกรรมของพวกญะฮฺมียะฮฺที่สืบทอดสันดานความโง่และแถมาจากฟาโรห์ ทั้งหมดที่พวกเขากระทำไปเพราะเจตนาจะเย้ยหยันเท่านั้น และสารพัดการทึกทักอื่นๆอีกมาก ขอให้พวกเขากลับไปอ่านอัลกุรอานโองการ 2:258 ดูเถิด เขาจะพบว่าท่านนบีอิบรอฮีม     ได้สอนกษัตริย์นัมรูดว่า رَبِّيَ الَّذِى يُحْىِ وَيُمِيتُ พระเจ้า(อัลเลาะฮฺ)ของฉันนั้น คือผู้ที่ทรงให้เป็นและทรงให้ตายได้” และกษัตริย์ก็ได้เย้ยหยันว่า أَنَا أُحْىِ وَأُمِيتُ เขากล่าวว่า ข้าก็ให้เป็น(ไว้ชีวิตนักโทษ)และให้ตาย(สั่งประหารคน)ได้เหมือนกัน” พฤติกรรมของกษัตริย์นัมรูดตรงนี้ไม่ต่างกับฟาโรห์ นั่นคือท่านนบี  อิบรอฮีม เป็นผู้สอนเขาให้รู้จักการสร้างชีวิตและการกำหนดความตายแก่มนุษย์ของพระเจ้า แต่เขากลับเย้ยหยันว่าการให้ชีวิตคือการไว้ชีวิตคนและการกำหนดความตายคือการสังหาร คนโง่เท่านั้นที่เห็นพฤติกรรมของนัมรูดเช่นนี้แล้วจะเข้าใจว่าท่านนบีอิบรอฮีม สอนว่าการกำหนดความตายหมายถึงการฆ่าคนกระมัง นัมรูดถึงได้ทำเช่นนี้เลียนแบบด้วย! ฉะนั้นเมื่อเราพิจารณาว่าการกระทำของนัมรูดไม่ตรงกับที่ท่านนบีอิบรอฮีม    สอนแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะอ้างมั่วว่าท่านนบีอิบรอฮีม ไม่ได้สอนเรื่องการกำหนดความตายของพระเจ้าใดๆเลยเพราะไปคิดผูกโยงว่าหากท่านนบีอิบรอฮีมสอนก็คงไม่มีใครเข้าใจอะไรแผลงๆเช่นนี้! เหมือนกันการที่ท่านนบีมูซา   สอนแก่ฟาโรห์ว่าพระเจ้าอยู่เบื้องบน ก็ไม่ได้หมายความว่าพฤติกรรมของฟาโรห์ในเรื่องเบื้องบนจะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่มูซาสอน เพราะทั้งนี้ฟาโรห์เพียงแต่จะเอาชนะจึงสร้างหอสูงขึ้นมาทั้งที่เป้าหมายของการอยู่เบื้องบนไม่ได้เป็นไปตามที่ฟาโรห์ต้องการบิดเบือนอยู่ คำสอนเรื่องความเป็นและความตายที่นบีอิบรอฮีมสอนก็ไม่ได้สอดรับกับการกระทำของนัมรูดที่คิดแต่เพียงจะเย้ยหยันเช่นกัน! หากใช้พฤติกรรมผิดๆของฟาโรห์เป็นข้ออ้างว่านบีมูซาไม่ได้สอนเช่นนั้น ก็ต้องใช้พฤติกรรมผิดๆของนัมรูดสรุปด้วยว่านบีอิบรอฮีม ไม่ได้สอนเรื่องการให้เป็นและให้ตายของพระเจ้าเหมือนกัน! ประเด็นสุดท้ายที่นับเป็นการแย้งชวนหัวของฝ่ายอะชาอิเราะฮฺก็คือ คำพูดของฟาโรห์ที่ยืนยันคำสอนของนบีมูซาเรื่องการอยู่เบื้องบนของพระเจ้านั้นไม่น่าเชื่อถือตามเกณฑ์พิจารณาของระบบหะดีษ หมายความว่าขนาดคนที่รายงานเรื่องต่างๆโดยอ้างว่ารับมาจากท่านนบีมุฮัมมัด ยังต้องถูกตรวจสอบความน่าเชื่อถือก่อนเลย แล้วทำไมคำบอกเล่าของฟาโรห์ที่อ้างถึงนบีมูซาถึงได้รับการเชื่อถือง่ายๆเสียเล่า ? ข้าฯขอกล่าวว่านี่เป็นการเปรียบเทียบอันโง่เขลาแท้ มันมีความต่างเพราะกรณีของนักรายงานหะดีษที่จำเป็นต้องตรวจสอบเนื่องจากผู้รายงานต้องการกุเรื่องเพื่อใช้ท่านนบีเป็นเครื่องมือในการแอบอ้างสนับสนุนความชอบธรรมหรือเป้าหมายบางอย่างของตนเอง ฉะนั้นหะดีษจึงถูกกุขึ้นด้วยเป้าหมายของการแอบอ้างเอานบีมาบังหน้า แตกต่างจากกรณีของฟาโรห์ที่มีการอ้างถึงคำสอนของนบีมูซา แต่มิใช่เพื่อเอามูซามาเป็นหลักฐานสนับสนุนตนเองอย่างกรณีของหะดีษ ทว่าเป้าหมายของฟาโรห์ก็คือการอ้างคำสอนของมูซาเพื่อนำมาตอบโต้ด่าทอและลดความน่าเชื่อถือของคำสอน! ฉะนั้นฟาโรห์จึงไม่มีเหตุผลในการอุปโลกน์นอกจากการนำเอาคำสอน “ของแท้” มาดูถูก และการด่าทอสิ่งใดที่บรรดานบีได้สอนย่อมเป็นที่แน่ชัดได้เลยว่านั่นเป็นคำสอนของบรรดา นบีจริง เพราะวิสัยของผู้ปฏิเสธคือการเกลียดชังตัวผู้สอนและคำสอน ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่พบเลยว่าการด่าทอเย้ยหยัน “คำสอน” ของบรรดานบีที่พวกกาเฟรกระทำกันนั้นจะมีปรากฏการด่าทอเย้ยหยันในสิ่งที่ไม่ใช่คำสอนจริงๆอยู่ เราจึงไม่เคยพบพวกกาเฟรในสมัยของท่านนบีด่าทอท่าน นบีว่า “มุฮัมมัดช่างเหลวไหลจริงๆที่มาสอนว่าพระเจ้ามีบุตร” หรือ “มุฮัมมัดช่างเหลวไหลจริงๆที่มาสอนว่าพระเจ้าทรงตื่นนอนและกินข้าว” ! ทั้งนี้เพราะเรื่องแบบนี้ท่านนบีไม่เคยสอนแต่แรกแล้วพวกเขาจึงไม่คิดจะมาตั้งแง่โจมตี ฉะนั้นการโจมตี “คำสอน” ที่บรรดานบีนำมาประกาศจึงถือว่าเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าคำสอนดังกล่าวมาจากท่านนบีจริง แม้ว่าจะออกมาจากคำบอกเล่าของศัตรูก็ตาม ดังพระดำรัสของอัลเลาะฮฺในอัลกุรอานความว่า
أَجَعَلَ الْآلِهَةَ إِلَهًا وَاحِدًا إِنَّ هَذَا لَشَيْءٌ عُجَابٌ
“เขา(เราะซูล)ได้ทำให้พระเจ้าหลายองค์เป็นพระเจ้าองค์เดียวกระนั้นหรือ ? แท้จริงนี่เป็นเรื่องประหลาดจริงๆ” (38:5) นี่คือคำบอกเล่าที่พวกมุชริก(ผู้ตั้งภาคี)ได้ถ่ายทอดมายังคนรุ่นหลังว่าเราะซูลที่ถูกส่งไปยังพวกเขานั้นมาสอนเรื่อง “แปลกประหลาด” ว่าพระเจ้าที่แท้จริงย่อมมีองค์เดียว! คงไม่มีคนสติดีคนใดคิดตั้งข้อสังเกตกับคำบอกเล่าของพวกมุชริกเหล่านี้ว่ามีความจริงเพียงใดแน่นอน ยิ่งตั้งข้อสังเกตด้วยการนำระบบหะดีษมาด้วยแล้วยิ่งบ่งชี้ถึงความเสียสติวิกลจริตสุดคณานับ  ทั้งหมดที่กล่าวไปคือหลักศรัทธาของบรรดานบีและชาวสะลัฟที่สวนทางโดยตรงกับจุดยืนของท่านฟัครุดดีน อัรรอซีย์ (ฮ.ศ.543-606) หัวหน้าคนสำคัญของแนวทาง      อะชาอิเราะฮฺที่ได้กล่าวว่า
وَأَمَّا قَوْلُهُ إِنَّ فِطْرَةَ فِرْعَوْنَ شَهِدَتْ بِأَنَّ الْإِلَهَ لَوْ كَانَ مَوْجُودًا لَكَانَ فِي السَّمَاءِ، قُلْنَا نَحْنُ لَا نُنْكِرُ أَنَّ فِطْرَةَ أَكْثَرِ النَّاسِ تُخَيِّلُ إِلَيْهِمْ صِحَّةَ ذَلِكَ لَا سِيَّمَا مَنْ بَلَغَ فِي الْحَمَاقَةِ إِلَى دَرَجَةِ فِرْعَوْنَ فَثَبَتَ أَنَّ هَذَا الْكَلَامَ سَاقِطٌ.                                                                                                
“และสำหรับคำกล่าวของพวกเขา (พวกหลงผิดในทัศนะของอะชาอิเราะฮฺ-ผู้แปล) ที่อ้างว่าจิตสำนึกทางธรรมชาติของฟาโรห์นั่นคือหากว่าพระเจ้ามีอยู่จริง พระเจ้าก็ต้องทรงอยู่เหนือฟากฟ้าอย่างแน่นอน  เราก็ขอกล่าว(ตอบโต้)ว่า พวกเรา (อะชาอิเราะฮฺ) ไม่เคยปฏิเสธว่าจิตสำนึกของคนจำนวนมากเชื่อว่าหลักศรัทธาเช่นนี้คือความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มชนที่ งี่เง่าพอๆกันกับฟาโรห์นั่นเอง นี่จึงเป็นข้อพิสูจน์ว่าความเห็นของคนพวกนี้(ที่เชื่อว่าอัลเลาะฮฺทรงมีอยู่เหนือชั้นฟ้า)นั้นเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล!” (ฟัครุดดีน อัรรอซีย์. ตัฟซีรอัลกะบีรเอามะฟาติฮุลฆ็อยบฺ. เบรูต: ดารฺอิฮฺยาอุตติรอษอัลอะเราะบีย์, 1420., เล่ม 27 หน้า 515) นั่นหมายความว่าชาวสะลัฟในสายตาของพวกอะชาอิเราะฮฺคือคนที่โง่เง่าพอๆกับฟาโรห์ด้วยกระมัง!
นอกจากนี้ท่านอบูฮะซัน อัลอัชอะรีย์ (ฮ.ศ.260-324) ปราชญ์อีกท่านหนึ่งก็ได้กล่าวอธิบายว่า
القول في المكان-85
اختلفت المعتزلة في ذلك فقال قائلون البارىء بكل مكان بمعنى انه مدبر لكل مكان وان تدبيره في كل مكان والقائلون بهذا القول جمهور المعتزلة ابو الهذيل و الجعفران والاسكافى ومحمد بن عبد الوهاب الجبائى                                 وقال قائلون البارىء لا في مكان بل هو على مالم يزل عليه وهو قول هشام الفوطى وعباد بن سليمان وابى زفر وغيرهم من  المعتزلة وقالت المعتزلة في قول الله عز و جل الرحمن على العرش استوى يعنى استولى                                                                                              
ทัศนะต่างๆเกี่ยวกับสถานที่ : พวกมุอฺตะซิละฮ มีความเห็นขัดแย้งกันในประเด็นดังกล่าว มีผู้กล่าวว่า พระเจ้าผู้สร้าง ทรงอยู่ทุกหนทุกแห่ง ความหมายคือ ทรงบริหารทุกหนทุกแห่ง และบรรดาผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ คือพวกมุอฺตะซิละฮส่วนใหญ่ ได้แก่ อบูฮุสัยลฺ, อัลญะอฺฟะรอน,           อัลอิสกาฟีย์, และมุฮัมมัด บิน อับดุลวะฮาบ อัลญะบาอีย์ และมีผู้กล่าวว่า "อัลเลาะฮฺไม่ทรงมีสถานที่แต่ทว่าทรงดำรงอยู่ที่เดิม และมันคือ ทัศนะของฮิชาม อัลฟูฏี, อับบาด บิน สุลัยมาน,     อบูซุฟัรและคนอื่นๆจากพวกมุอฺตะซิละฮฺและพวกมุอฺตะซิละฮฺยังได้อธิบายเกี่ยวกับคำตรัส ของอัลเลาะฮฺที่ว่า -พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงอยู่เหนือบัลลังก์ของพระองค์- ฏอฮา:5 พวกเขาอ้างว่าการอยู่เหนือบัลลังก์ หมายถึง การสถาปนาอำนาจการปกครอง" (อะลีย์ บินอิสมาอีล อัลอัชอะรีย์ อบูฮะซัน. มะกอลาตอัลอิสลามิยีนวัคติลาฟุลมุศ็อลลีน. ม.ป.ท.มักตะบะฮฺอัลอัศรียะฮฺ, 1426, เล่ม 1 หน้า 131) สรุปได้ว่าในความเชื่อของชาวสะลัฟนั้นพวกเขาศรัทธาว่าพระองค์อัลเลาะฮฺทรงอยู่เหนือชั้นฟ้าโดยไม่มีการตีความเป็นการสถาปนาอำนาจตามทัศนะของพวกมุอฺตะซิละฮฺผู้หลงผิด การอยู่เบื้องบนหมายถึงการดำรงอยู่เหนือจักรวาลทั้งปวงขึ้นไปซึ่งชาวสะลัฟมักใช้คำว่า-บาอินุนมินค็อลกิฮิ-หมายถึงอยู่เหนือชั้นฟ้าขึ้นไปโดยแยกหรือไม่ปะปนกับสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างไว้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเวลา,แผ่นฟ้าจักรวาลและมิติของสถานที่ ฉะนั้นการอยู่เหนือชั้นฟ้าของพระองค์อัลเลาะฮฺจึงไม่เสมือนกับสิ่งใด ไม่ใช่ภาวะของการพึ่งพาสถานที่อยู่อาศัยดังที่คนโง่บางกลุ่มเข้าใจกัน หากแต่เป็นภาวะของการดำรงอยู่บนสิ่งถูกสร้าง เหนือทิศทั้งหกที่มนุษย์จินตนาการได้ ชาวสะลัฟนั้นพวกเขากำหนดให้ทุกคนเชื่อตามตัวบทที่ระบุมาโดยไม่ถกเถียงถึงสภาพที่แท้จริงเนื่องจากมันเป็นเรื่องลี้ลับ เพียงแค่เราใช้สมองคิดว่านอกจักรวาลเป็นอย่างไรและคืออะไร? สมองของเราก็ตอบไม่ได้แล้ว ไม่รู้ว่าคือสถานที่หรือไม่? มีเวลาหรือไม่? แล้วจะนับประสาอะไรกับการที่เราบอกว่าพระองค์อัลเลาะฮฺ ทรงอยู่เหนือชั้นฟ้าทั้งหมดแบบไม่พึ่งพาสถานที่หรือสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งปวง อันเป็นภาวะที่สุดจะคาดคิดได้ว่าเป็นอย่างไร? เหตุใดกันเล่าบางคนจึงได้ยุ่งเกี่ยวในความหมายของมันโดยคิดว่าเป็นการพึ่งพิงสถานที่หรือหาที่อยู่ให้พระองค์อาศัย ทั้งที่พระองค์ทรงอยู่นอกสิ่งถูกสร้างอันไม่ใช่สิ่งที่ถูกเรียกว่าสถานที่อยู่แล้วเพราะสถานที่และเวลาเป็นสิ่งหนึ่งที่พระองค์สร้างขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีการใช้หะดีษบทนี้เพื่อสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบศรัทธาคนในหมู่ชาวสะลัฟ แต่ทว่าก็ไม่วายได้ถูกคนบางกลุ่มแก้เกี้ยวไปต่างๆนานา กล่าวคือคนกลุ่มแรกจากบางส่วนในหมู่อะชาอิเราะฮฺ เช่น มุฮัมมัด ซาฮิด อัลเกาษะรีย์, ฮะซัน อัซซักกอฟ, อัลฆุมารีย์ ฯลฯ ได้ให้ทัศนะว่าหะดีษบทนี้เป็นหะดีษอ่อนหรือใช้เป็นหลักฐานไม่ได้ ทั้งที่ชาวสะลัฟให้การรับรองต่อหะดีษนี้แม้กระทั้งอิมามมุสลิมก็ตัดสินว่ามันเป็นหะดีษที่ถูกต้อง บรรดานักปราชญ์ของอะชาอิเราะฮฺเองในยุคแรกต่างก็เชื่อถือต่อหะดีษนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นท่านอิบนุเฟาร็อก, ท่านอิบนุกุลลาบ, ท่านฮุซัยนฺบินอะฮฺมัด อัลอัชอะรีย์, ท่านอบูฮะซัน      อัลอัชอะรีย์, ท่านอบูบักรฺ อัลบากิลลานีย์, ท่านฟัครุดดีน อัรรอซีย์, ยิ่งไปกว่านั้นเหล่านักปราชญ์หะดีษยุคหลังสะลัฟของอิสลามต่างก็ตัดสินว่าหะดีษนี้ถูกต้อง (เศาะฮีฮฺ)  เช่น ท่านอิบนุอับดิลบัร, ท่านอิมามบะฆอวีย์, ท่านอิมามอิบนุกุดามะฮฺ, ท่านอิมามอัสสะฮะบีย์, ท่านอิบนุฮะญัร        อัลอัซเกาะลานีย์ และท่านอัลบานีย์  (ศอดิกบินซะลีมบินศอดิก. ตักฮีลุลอัยนฺบิญาวาซิซซุอาลอะนิลละฮฺ (อัยนะ). ริยาฎ : ดารุตเตาฮีดอันนัชรฺ, ม.ป.ป.,หน้า 13-22) ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งคือพวกสมานฉันท์จากในหมู่ผู้เลื่อมใสแนวทางของกลุ่มอิควานฯ คนกลุ่มนี้กลับไม่แยแสต่อความสำคัญของหะดีษนี้และวิจารณ์ว่าที่ชาวสะละฟีย์เรียกร้องให้คนศรัทธาต่อหะดีษบทนี้ตามความเข้าใจของชาวสะลัฟนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญเพราะที่สำคัญคือเราศรัทธาว่ามีอัลเลาะฮฺก็พอ! นี่คือจุดยืนที่หลงผิดและเราขอความคุ้มครองต่อพระองค์อัลเลาะฮฺ   จากแนวคิดบิดเบือนทั้งสองนี้