วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Muftee แห่งพวกญะฮฺมียะฮฺ : ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ ยอมรับว่า "ท่านนบี (ซ.ล.) นั่งอยู่บนบัลลังก์พร้อมกับพระองค์"


นาย มุฟตี สาวกระดับเดนตายของอารีฟีน แสงวิมาน ได้เปิดประเด็นเขียนโจมตีท่านอิบนุตัยมียะฮฺไว้ในกระดานเสวนาของพวกเขาไว้ความว่า
.. ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ ยอมรับว่า "ท่านนบี(ซ.ล.) นั่งอยู่บนบัลลังก์พร้อมกับอัลลอฮฺ ตะอาลา ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ เป็นปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งจากมัซฮับหัมบะลีย์ ซึ่งท่านเป็นปราชญ์ที่กลุ่มวะฮาบีย์ยึดถือมากที่สุดในแนวคิดและผลงานต่างๆ ของท่าน และท่านได้กล่าวสิ่งหนึ่งให้กับอัลลอฮฺ ตะอาลา โดยสิ่งที่ท่านกล่าวนั้น เป็นทัศนะที่นำไปสู่การทำให้อัลลอฮฺ ตะอาลา มีคุณลักษณะที่เหมือนกับมัคลูก(สิ่งที่ถูกสร้าง) และด้วยทัศนะดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้ปวงปราชญ์ท่านอื่นๆ จากกลุ่มอะฮฺลิสสุนะฮฺฯ ได้ออกมาทำการตอบโต้แนวคิดนี้ของท่าน โดยที่ท่านอิบนุ ตัยมียะฮฺ ได้กล่าวเอาไว้ว่า ..
"ดังนั้น แท้จริงแล้วบรรดาปวงปราชญ์ผู้ได้รับความพึงพอใจ และบรรดาผู้ที่ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวว่า แท้จริงมุหัมมัด คือ ศาสนฑูตแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ซึ่งพระผู้อภิบาลของท่านได้ทำให้ท่านนบี(ซ.ล.) นั่งอยู่บนบัลลังก์พร้อมกับพระองค์"
ดู ตำรา مجموع فتاوى  โดย ท่านอะหฺมัด อิบนุ ตัยมียะฮฺ  เล่มที่ 4  หน้าที่ 374

วิจารณ์ความเขลาของญะฮฺมียฺอัชอะรีย์ผู้นี้
ประการ ที่หนึ่ง สำหรับผู้ที่เคยติดตามการใส่ร้ายของบรรดาสานุศิษย์อารีฟีน แสงวิมาน อัลญะฮฺมียฺ แล้วย่อมต้องรู้จักชื่อเสียงและความน่าสมเพทที่ปรากฏขึ้นจากบทบาทของนายมุ ฟตีผู้นี้ได้เป็นอย่างดี เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราพบว่านายมุฟตีผู้นี้มิใช่อะไรเลยนอกจากคนโง่เขลาที่ชิงชังและริษยาในความ รู้และความโดดเด่นของท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ดังที่ท่านอัลกอฎี บะฮาอุดดีน อัซซุบกีย์ นักปราชญ์คนสำคัญของมัสฮับชาฟิอีย์ กล่าวว่า

والله يا فلان ما يبغض ابن تيمية إلا جاهل أو صاحب هوى فالجاهل لا يدري ما يقول وصاحب الهوى يصده هواه عن الحق بعد معرفته به.
            "ขอสาบานต่ออัลเลาะฮฺ ไม่มีผู้ใดเกลียดชังท่านอิบนุตัยมียะฮฺได้ดอกเว้นแต่คนโง่เขลาเบาปัญญาหรือ ไม่ก็คนที่เอาอารมณ์เป็นพระเจ้าเท่านั้น สำหรับคนโง่นั้นมักไม่เข้าใจถึงสิ่งที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺกล่าว ส่วนพวกอารมณ์ใคร่ชั่วนิยมนั้นก็มักถูกอารมณ์ปิดกั้นจากการดำเนินตามสัจธรรม หลังจากรู้แจ้งถึงสัจธรรมแล้ว"
(มัรอีย์บินยูซุฟ อัลฮัมบะลีย์, อัชชะฮาดะตุซซะกียะฮฺษะนาอิลอุมมะติอะลาอิบนุตัยมียะฮฺ. นัจมฺอับดุรเราะฮฺมาน เคาะลัฟ, ผู้ตรวจทาน. เบรูต : ดารุลฟุรกอน, 1405. หน้า 58)
นายมุฟตีคนนี้ในทางปฏิบัติแล้วน่าจะควบทั้งสองประเภทคือตามอารมณ์ใคร่ชั่วแล้วเผอิญโง่ติดตามมาด้วย
ประการที่สอง สิ่งที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺกล่าวนั้นในความเป็นจริงแล้วเป็นเพียงการนำเสนอ ทัศนะของนักปราชญ์อิสลามในทางวิชาการเกี่ยวกับความหมายเชิงเลิกของอัลกุรอาน ที่ว่า
وَمِنَ اللَّيْلِ فَتَهَجَّدْ بِهِ نَافِلَةً لَكَ عَسَىٰ أَنْ يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَامًا مَحْمُودًا
และจากบางส่วนของกลาง คืนเจ้าจงตื่นขึ้นมาละหมาดในเวลาของมัน เป็นการสมัครใจสำหรับเจ้า หวังว่าพระเจ้าของเจ้าจะทรงให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ   (17:79)
ประเด็นของเรื่องนี้มีอยู่ว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮฺเพียงแต่นำเสนอทัศนะทางวิชาการในหมู่นักปราชญ์ถึงความหมายของคำว่า "ตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ" นั้นแปลว่าอะไร ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺได้กล่าวว่ามันมี สองทัศนะ โดยในทัศนะแรกนั้น หมายถึงการที่ท่านนบีจะได้รับสิทธิการชะฟาอะฮฺ (การอนุเคราะห์ให้คนในอุมมะฮฺนี้บางส่วนเข้าสวรรค์) และทัศนะนี้เป็นทัศนะที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺให้ความเชื่อถือ ดังที่ท่านได้กล่าวว่า
                                             
كَانَ أَهْلُ الْعِلْمِ يَقُولُونَ : إنَّ الْمَقَامَ الْمَحْمُودَ الَّذِي قَالَ اللَّهُ تَعَالَى { عَسَى أَنْ يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَامًا مَحْمُودًا }هُوَ شَفَاعَتُهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ.                   
“และปรากฏว่าบรรดานักปราชญ์ได้กล่าวอธิบายโองการหวังว่าพระเจ้าของเจ้าจะทรงให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ   (17:79) หมายถึงการชะฟาอะฮฺของท่านนบีในวันกิยามะฮฺ" 
       (ตะกียุดดีนอิบนิตัยมียะฮฺ, มัจมูอฺฟะตาวาย์อิบนุตัยมียะฮฺ. อัลมะดีนะฮฺอัลนะบะวียะฮฺ: มัจมะอฺอัลมาลิกฟะฮฺดฺ, 1416. เล่ม 14 หน้า 390)
ส่วนทัศนะที่สองนั้น คือทัศนะที่มีการกล่าวกันว่าเป็นทัศนะของท่านมุญาฮิด ผู้เป็นปราชญ์สะลัฟ ซึ่งให้ความหมายว่า เป็นการนั่งของพระองค์อัลเลาะฮฺบนเก้าอี้ของพระองค์พร้อมกับท่านนบีมุฮัมมัด ในวันกิยามะฮฺ ตามที่พวกญะฮฺมียฺได้นำเสนอไป ฉะนั้นเป้าหมายของท่านอิบนุตัยมียะฮฺที่ได้พูดถึงนั้นคือการที่ท่านเพียงแต่นำเสนอ ความเห็นทางวิชาการว่าในการอธิบายถึงโองการนี้นั้นบรรดานักปราชญ์บางส่วนได้ ให้ความหมายว่าเป็นการนั่งของพระองค์อัลเลาะฮฺ การที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺนำเสนอเช่นนี้อย่าได้หลงประเด็นเข้าใจผิดไปตามการ บิดเบือนของพวกญะฮฺมียฺ กล่าวคือท่านอิบนุตัยมียะฮฺนำเสนอเพื่อให้ทราบถึงทัศนะของนักวิชาการ มิใช่เพื่อให้เชื่อหรือยึดถือตามนั้น และการนำเสนอของท่านอิบนุตัยมียะฮฺเช่นนี้ก็เป็นธรรมเนียมที่นักปราชญ์ด้านการตัฟซีรอัลกุรอานทุกคนทำกันอยู่แล้ว เช่น ท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์ ท่านได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ตัฟซีรของท่านภายใต้การอธิบายถึงโองการนี้ ไว้ว่า
اُخْتُلِفَ فِي الْمَقَام الْمَحْمُود عَلَى أَرْبَعَة أَقْوَال : الثالثة: قوله تعالى: عَسَىٰ أَن يَبْعَثَكَ رَبُّكَ مَقَاماً مَّحْمُوداً
“ประการที่สาม พระดำรัสของอัลเลาะฮฺตะอาลาที่ว่า  หวังว่าพระเจ้าของเจ้าจะทรงให้เจ้าได้รับ ตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ บรรดานักวิชาการได้มีความเห็นแตกต่างกันถึงคำว่า "ตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ" ออกเป็นสี่ทัศนะ”
(มุฮัมมัด บินอะฮฺมัด อัลอันศอรีย์, ญามิอฺอัลอะฮฺกามอัลกุรอาน. ไคโร : ดารุลฟิกรฺ, ม.ป.ป. เล่ม 10 หน้า 277)
จากนั้นท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์จึงได้นำเสนอทัศนะต่างๆไปและเมื่อมาถึงทัศนะที่สามท่านก็กล่าวว่า
الْقَوْل الثَّالِث : مَا حَكَاهُ الطَّبَرِيّ عَنْ فِرْقَة , مِنْهَا مُجَاهِد , أَنَّهَا قَالَتْ : الْمَقَام الْمَحْمُود هُوَ أَنْ يُجْلِس اللَّه تَعَالَى مُحَمَّدًا صَلَّى اللَّه عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَعَهُ عَلَى كُرْسِيّه ; وَرَوَتْ فِي ذَلِكَ حَدِيثًا . وَعَضَّدَ الطَّبَرِيّ جَوَاز ذَلِكَ بِشَطَطٍ مِنْ الْقَوْل , وَهُوَ لَا يَخْرُج إِلَّا عَلَى تَلَطُّف فِي الْمَعْنَى , وَفِيهِ بُعْد . وَلَا يُنْكَر مَعَ ذَلِكَ أَنْ يُرْوَى , وَالْعِلْم يَتَأَوَّلهُ . وَذَكَرَ النَّقَّاش عَنْ أَبِي دَاوُد السِّجِسْتَانِيّ أَنَّهُ قَالَ : مَنْ أَنْكَرَ هَذَا الْحَدِيث فَهُوَ عِنْدنَامُتَّهَم           ทัศนะ ที่สาม คือทัศนะที่ได้ถูกรายงานจากกลุ่มของนักวิชาการ เช่นท่าน เตาะบะรีย์ โดยที่ในหมู่พวกเขานั้นมีท่านมุญาฮิดเป็นหนึ่งในผู้ถือทัศนะนี้ด้วย โดยที่พวกเขากล่าวว่า ตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ ในโองการนี้นั้นหมายถึงการที่พระองค์อัลเลาะฮฺทรงนำเอาท่านนบีมุฮัมมัดนั่งบนเก้าอี้พร้อมกับพระองค์ พวกเขาต่างรายงานหะดีษต่างๆในเรื่องดังกล่าวมา และท่านเตาะบะรีย์ (ปราชญ์สะลัฟ) ก็ได้สนับสนุนความเป็นไปได้ของทัศนะนี้ด้วยกับคำพูด(สนับสนุน)ที่มากมาย อย่างไรก็ตามสิ่งที่ท่านเตาะบะรีย์กล่าวไปนั้นไม่สามารถที่จะนำออกมา(เป็น หลักฐานได้)เว้นแต่ด้วยกับว่ามันคือสิ่งที่เป็นทัศนะที่เบาในทางความหมายและ ไร้นำ้หนัก นี่ไม่ใช่เป็นการกล่าวเพื่อแสดงถึงการปฏิเสธต่อการรายงานเรื่องราวดังกล่าว มาแต่อย่างใด เพียงแค่ว่ามันเป็นความรู้ที่มีการตีความเท่านั้น และท่านอบูดาวูดได้กล่าวว่า ผู้ใดปฏิเสธหะดีษในเรื่องนี้ ในทัศนะของเรานั้นเขาถูกตำหนิ"
(มุฮัมมัด บินอะฮฺมัด อัลอันศอรีย์, ญามิอฺอัลอะฮฺกามอัลกุรอาน. เล่ม 10 หน้า 279)
จะเห็นได้ว่า ท่านอัลกุรฏุบีย์ นักปราชญ์ด้านการอธิบายอัลกุรอานผู้ปราดเปรื่องในเรื่องของการประมวลทัศนะ ก็ยังได้นำเสนอถึงทัศนะว่าด้วยการนั่งของพระองค์อัลเลาะฮฺไปในทิศทางเดียว กับท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ กล่าวคือมันถูกเข้าใจกันแล้วในบรรดานักปราชญ์ว่าทัศนะดังกล่าวนี้เป็นทัศนะ ของท่านมุญาฮิดและท่านอัตเตาะบะรีย์ และดูจากรูปการณ์ที่ท่านกุรฏุบีย์ระบุมานั้นนี่ยังอาจจะเป็นทัศนะของท่านอบู ดาวุดอีกด้วย ฉะนั้นหากการนำเสนอข้อมูลของท่าน อิบนุตัยมียะฮฺต้องถูกพวกญะฮฺมียฺใจชั่วใส่ร้ายว่าเป็นการนำเสนอทัศนะของพวก มุญัสซิมะฮฺ (ให้การมีร่างกายแก่อัลเลาะฮฺ) แล้ว ท่านอัลกุรฏุบีย์ ที่พวกญะฮฺมียฺอัชอะรีย์แอบอ้างว่าเป็นอิมามของพวกตนเองก็คงต้องเป็นมุญัสซิ มะฮฺด้วยเช่นกัน ฉะนั้นการที่ท่านอิบนุตัยมียะฮฺท่าน พาดพิงไป โดยใช้คำว่า "العلماء المرضيون (ปวงปราชญ์ผู้ได้รับความพึงพอใจ)" และ "الأولياء المقبولون (บรรดาคนวะลีย์ที่ได้รับการตอบรับ)" คงมีแต่พวกขลาดเขลาเท่านั้นที่ยังกังขาต่อการพาดพิงด้วยสำนวนเหล่านี้ก็ใน เมื่อนักปราชญ์ทั้งสามที่ท่านกุรฏุบีย์นำเสนอไปนั้นก็มีสถานภาพดังการพาดพิง โดยท่านอิบนุตัยมียะฮฺอยู่แล้ว
ประเด็นที่ไม่ควร สับสันและตีรวนก็คือ แม้รายงานที่อ้างว่าท่านมุญาฮิด มีทัศนะเช่นนี้จะเป็นรายงานที่ถูกพิจารณาว่าอ่อนสถานะตามหลักของวิชาหะดีษ แต่ทว่าประเด็นของเราไม่ได้อยู่ที่การพิจารณาถึงสายรายงาน ประเด็นของเราอยู่ที่ว่าบรรดานักปราชญ์มีมุมมองอย่างไรต่อรายงานเหล่านี้ ต่างหาก ? ฉะนั้นหากท่านกุรฏุบีย์และท่านเตาะบะรีย์มองว่ารายงานจากมุญาฮิดในเรื่องนี้ เป็นรายงานที่สามารถยอมรับได้ถึงขั้นนำมาเป็นข้อมูลเพื่อกล่าวประมวลทัศนะ ทางวิชาการได้แล้ว คนมีใจคดชั่วเท่านั้นที่คิดจะโมโหต่อท่านอิบนุตัยมียะฮฺที่เพียงแค่นำเสนอ ข้อมูลอันไม่ต่างอะไรไปจากปราชญ์ท่านอื่นเลย
ประการที่สาม สมมติว่า ท่านอิบนุตัยมียะฮฺ ได้เลือกเอาทัศนะในเรื่องการนั่งของพระองค์มาเป็นหลักความเชื่อของท่าน ตรงนี้ก็ไม่อาจทำการตำหนิท่านชัยคุลอิสลามใดๆได้เลยสืบเนื่องจากทัศนะใน เรื่องการนั่งนี้เป็นทัศนะของปราชญ์สะลัฟอย่างท่านอิบนุญะรีร อัตเตาะบะรีย์ และการนั่งของพระองค์อัลเลาะฮฺนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ในทัศนะของท่าน เลย
ท่านอิบนุญะรีร ได้กล่าวว่า                                        
وَقَالَ آخَرُونَ : بَلْ ذَلِكَ الْمَقَامُ الْمَحْمُودُ الَّذِي وَعَدَ اللَّهُ نَبِيَّهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ يَبْعَثَهُ إِيَّاهُ ، هُوَ أَنْ يُقَاعِدَهُ مَعَهُ عَلَى عَرْشِهِ.           "ทัศนะของนักวิชาการกลุ่มอื่นกล่าวว่า คำว่า ตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญนั้นคือการที่พระองค์อัลเลาะฮฺได้ทรงสัญญาต่อนบีของ พระองค์ว่าพระองค์จะทรงยกท่านนบีขึ้นนั่งบนบัลลังก์ของพระองค์พร้อมกับพระองค์"
หลังจากกล่าวตรงจุดนี้เสร็จแล้ว ท่านอิบนุญะรีรก็ได้ทำการนำเสนอสายรายงานในเรื่องนี้มากกว่าเก้ารายงานจากนั้นท่านก็กล่าวสรุปว่า
مَا قَالَهُ مُجَاهِدٌ مِنْ أَنَّ اللَّهَ يُقْعِدُ مُحَمَّدًا صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى عَرْشِهِ ، قَوْلٌ غَيْرُ مَدْفُوعٍ صِحَّتُهُ ، لا مِنْ جِهَةِ خَبَرٍ وَلا نَظَرٍ ، وَذَلِكَ ؛ لأَنَّهُ لا خَبَرَ عَنْ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، وَلا عَنْ أَحَدٍ مِنْ أَصْحَابِهِ ، وَلا عَنِ التَّابِعِينَ بِإِحَالَةِ ذَلِكَ.                                                   
"สิ่งที่มุญาฮิดได้กล่าวไว้ว่าแท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงเชิญนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมนั่งบนอะรัชของพระองค์นั้น เป็นทัศนะที่ไม่อาจปฏิเสธได้ในความถูกต้องของมัน ไม่ว่าเป็นด้านรายงาน (หลักฐาน) หรือด้านสติปัญญา เพราะไม่มีรายงานจากท่านเราะซูลุลเลาะฮฺ จากเศาะหาบะฮฺท่านใด และจากบรรดาตาบิอีนว่าเป็นไปไม่ได้"
(มุฮัมมัดบินญะรี๊ร อัฏเฏาะบะรีย์, ญามิอุลบะยานอั้นตะอ์วีลอัยยัลกุรอาน. ม.ป.ท.:ดารุลมะอาริฟ, ม.ป.ป. เล่ม 17 หน้า 529-531)
ฉะนั้นในทัศนะของท่านอิบนุญะรีร แล้วการกล่าวว่าพระองค์อัลเลาะฮฺทรงนั่งพร้อมกับนบีนั้นเป็นสิ่งที่สามารถ ยอมรับได้ในทางสติปัญญาโดยไม่ต้องพะว้า พะวงกับเรื่องการตัชบีฮฺอะไรเลย ข้อสรุปของท่าน       อิบนุญะรีรที่ว่า ไม่ขัดกับปัญญาเลยที่จะกล่าวว่าแท้จริงแล้วอัลเลาะฮฺจะทรงเชิญนบีมานั่งบน บัลลังก์ของพระองค์ตรงนี้จึงชี้ชัดว่าหมายถึงนั่งพร้อมกับพระองค์ด้วย เพราะเป็นการกล่าวแบบสรุปหรือรวบรัดจากหัวข้อข้างบนที่อ้างถึงรายงานจากท่าน มุญาฮิดอีกที พวกญะฮฺมียฺจึงไม่สามารถอ้างข้างๆคูๆถึงการไม่ใส่คำว่า "มะอะฮุ" เพื่อเบี่ยงเบนว่าท่านอิบนุญะรีรหมายความถึงการนั่งบนบัลลังก์ของนบีมุฮัม มัดเท่านั้น ไม่ใช่การนั่งพร้อมกับพระองค์ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วท่านอิบนุญะรีรจะกล่าวถึงรายงานของท่านมุญาฮิดที่ระบุ คำว่า พร้อมกับพระองค์ไว้ในตอนแรกจากนั้นก็เสนอสายรายงานสนับสนุนแล้วก็มาตบท้าย ว่าที่เป็นไปได้คือนบีนั่งคนเดียวเท่านั้นอัลเลาะฮฺไม่เกี่ยวไปทำไม? หากท่านอิบนุญะรีร มุ่งหมายแปลกประหลาดเช่นนั้นจริงท่านก็จำต้องเขียนปฏิเสธหรือกล่าวถึงความ เป็นไปไม่ได้ของการนั่งโดยพระองค์อัลเลาะฮฺ มิใช่มานั่งกล่าวตามใจความที่นำเสนอ การเบี่ยงเบนของพวกญะฮฺมียฺอะชาอิเราะฮฺเช่นนั้นเป็นเรื่องตลกทั้งยังขัดกับ ความเข้าใจของท่านอิมามกุรฏุบีย์อีกด้วย
สรุป :
ทัศนะในเรื่องการนั่งนี้เป็นทัศนะของสะลัฟส่วนหนึ่ง มิใช่ทัศนะของท่านชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ดังนั้นหากชาวสะลัฟยืนยันถึงความเป็นไปได้ของการนั่ง มันก็เป็นเรื่องเหลวไหลที่เราจะกล่าวว่าสะลัฟไม่สามารถทำใจยอมรับถึงการให้ ความหมายของคำว่า อิสติวาอ์ ในทิศทางของคำว่า สถิตย์, ประทับ หรือ การอยู่บนบัลลังก์ เพราะคำเหล่านี้ในแง่ของตรรกะวิทยาแล้วมีความเป็นไปได้มากกว่าการนั่งโดยสิ้นเชิง
ส่วนพวกญะฮฺมียฺตนใดจะแก้เกี้ยวว่าข้อมูลที่นำเสนอไปนั้นมิใช่เป็น “หลักฐาน” ของศาสนาดังเช่นอัลกุรอานและหะดีษ จึงไม่เพียงพอที่จะมีน้ำหนักในการให้ความเชื่อถือต่อทัศนะดังกล่าว เราก็ขอตอบว่าประเด็นที่เราถกเถียงมิได้อยู่ที่ว่าอะไรคือความหมายที่มีน้ำหนักที่สุดในการอธิบายโองการนี้เพราะในทางปฏิบัติแล้วสายรายงานอ่อนจำนวนมากที่พวกญะฮฺมียฺพยายามนำเสนอว่าเป็นตัวอย่างการตีความของชาวสะลัฟต่อศิฟัตบางประการก็เป็นการตีความของมนุษย์กันเองอยู่แล้ว แต่ประเด็นอยู่ตรงที่ว่าการให้ความหมายว่าเป็นการนั่งของพระองค์อัลเลาะฮฺในหมู่ชาวสะลัฟบางส่วนนั้นเป็นการ “ตัชบีฮฺ” (สร้างความคล้ายคลึง) กับสิ่งถูกสร้างหรือไม่?